![ความลับซิปซ่อน](https://static.wixstatic.com/media/7f3883_50f7558c8ca5495fbdc6560f64b562ca~mv2_d_2400_1256_s_2.jpg/v1/fill/w_980,h_513,al_c,q_85,usm_0.66_1.00_0.01,enc_auto/7f3883_50f7558c8ca5495fbdc6560f64b562ca~mv2_d_2400_1256_s_2.jpg)
เราต่างก็เคยเห็นซิปซ่อนกันมาบ้างแล้วใช่ไหมคะ โดยส่วนมากจะเห็นได้บ่อยๆ ตามเสื้อผ้า เครื่องแต่งกายของสุภาพสตรีเป็นหลัก ด้วยการที่มีความสามารถในการ 'อำพราง' ตัวเองบนเสื้อผ้าหรืองานตัดเย็บต่างๆ เมื่อมองจากภายนอกแทบจะนึกแค่ว่าเป็นรอยต่อเล็กน้อยของผืนผ้า ด้วยประการนี้จึงเป็นที่มาของชื่อที่เรารู้จักกันว่า 'ซิปซ่อน' ยังไงละคะ แต่มากกว่านั้น วันนี้โทริจะมานำเสนอความลับ หรือเรียกกันว่า เปิดโปงความลับของตัวซิปซ่อนให้ได้ชมกันค่ะ
![ซิปซ่อน](https://static.wixstatic.com/media/7f3883_525efab7504747ceac2e116a12297a6d~mv2_d_2448_1376_s_2.jpg/v1/fill/w_980,h_551,al_c,q_85,usm_0.66_1.00_0.01,enc_auto/7f3883_525efab7504747ceac2e116a12297a6d~mv2_d_2448_1376_s_2.jpg)
ซิปซ่อน หรือในภาษาอังกฤษคือ Invisible Zipper / Conceal Zipper ได้ถูกประดิษฐ์ขึ้นในช่วงปี 1950 ซึ่งในตอนนั้นเองยังไม่ได้เป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายดังปัจจุบัน จุดเริ่มต้นของซิปซ่อนคือ ความพยายามที่จะหาวิธีการปิดบังรอยต่อซิป-ฟันซิป ที่ปกติจะเห็นอยู่ทุกครั้งเวลาซิปอยู่บนเสื้อผ้าหรือ สิ่งของต่างๆ ดังนั้นไอเดียที่จะมาเป็นซิปซ่อนจึงได้ถือกำเนิดขึ้นมา
แล้วซิปซ่อน มีจุดไหน มีระบบใด ที่ต่างจากซิปทั่วไปบ้าง?
โทริจะขอยกซิป 'ไนลอน' มาเปรียบเทียบกับซิปซ่อนให้ดูนะคะ ที่ใช้ซิปไนลอนเปรียบเทียบเนื่องจาก ซิปไนลอนเป็นซิปที่เรียกได้ว่าเป็นซิปพื้นฐานของซิปทุกประเภท ใช้กันแพร่หลายมากที่สุด และวัสดุที่ใช้ทำยังใกล้เคียงกันกับซิปซ่อนมากที่สุดค่ะ เรามาเริ่มดูกันที่ลักษณะทั่วไปภายนอกของซิปซ่อนกันก่อนนะคะ
![](https://static.wixstatic.com/media/7f3883_9d0bd27dee7d437f8d6160d1f00a3a7b~mv2.jpg/v1/fill/w_980,h_457,al_c,q_85,usm_0.66_1.00_0.01,enc_auto/7f3883_9d0bd27dee7d437f8d6160d1f00a3a7b~mv2.jpg)
เมื่อเปรียบเทียบกันระหว่างซิปซ่อนกับซิปไนลอน จะเห็นได้ชัดว่ามีความแตกต่างกันดังนี้ ป้ายซิป ป้ายของซิปซ่อนส่วนใหญ่จะเป็นแบบกลมมนเล็กเนียนเรียบ แต่ของซิปทั่วไปจะมีลักษณะแบนเสียมากกว่า โดยป้ายของซิปซ่อนมักจะมาในสีเดียวกันกับผ้าซิป เพื่อให้มีความกลมกลืนกับเนื้อผ้า หัวซิป หัวซิปของซิปซ่อนจะมีรูปแบบที่ค่อนข้างตายตัว เป็นระบบ Non-Lock เนื่องจากถ้ามีระบบหัวล็อคแบบอื่นจะทำให้ขนาดของหัวซิปนั้นใหญ่ขึ้น และนำไปใช้งานได้ไม่เหมาะสม แต่สังเกตได้ว่ารูปร่างของหัวซิปจะแตกต่างจากซิปปกติทั่วไป คือมีลักษณะเป็นสันวิ่งขึ้นมา และมีห่วงคล้องป้ายซิปในแนวตั้งแทน (ดูภาพวาดประกอบได้จากด้านล่าง) ในขนาดที่เท่ากันหัวซิปซ่อนมักจะใหญ่กว่าหัวซิปไนลอนเบอร์3 เนื่องจากโครงสร้างจำเป็นต้องมีขนาดรางที่ยาวกว่า
![ซิปซ่อน](https://static.wixstatic.com/media/7f3883_09966baa3b3247a6929a9e3e6ae277d0~mv2.jpg/v1/fill/w_980,h_467,al_c,q_85,usm_0.66_1.00_0.01,enc_auto/7f3883_09966baa3b3247a6929a9e3e6ae277d0~mv2.jpg)
![ซิปไนลอน](https://static.wixstatic.com/media/7f3883_1ed741f0869d4f7b891d1464cad6d91b~mv2.jpg/v1/fill/w_980,h_467,al_c,q_85,usm_0.66_1.00_0.01,enc_auto/7f3883_1ed741f0869d4f7b891d1464cad6d91b~mv2.jpg)
ฟันซิป ฟันซิปของซิปซ่อนจะทำมาจากวัสดุเดียวกันเพียงแต่รูปแบบการทอติดกับเนื้อผ้าจะเป็นคนละลักษณะกัน (จะกล่าวหลังจากนี้ค่ะ) ผ้าซิป ผ้าซิปของซิปไนลอนและซิิปซ่อนจะทอจากเส้นใยโพลิเอสเตอร์เหมือนกัน แต่ผ้าซิปไนลอนจะใช้ผการทอผ้าแบบทั่วไป เน้นให้เนื้อผ้าเต็มผืนมีความหนาทนทาน แต่ในซิปซ่อนผ้าที่ใช้ในการประกอบซิปซ่อนจะถูกทอด้วยเครื่องทออีกรูปแบบหนึ่ง ที่จะให้รูปแบบผ้าที่ออกมามีความโปร่ง ยืดหยุ่นกว่า โดยหากสังเกตดีๆ รูปแบบการทอจะเป็นลักษณะ 'เปียไขว้เปีย' ยึดเข้าด้วยกัน คล้ายๆกับการถักเสื้อสเวตเตอร์ ซึ่งการทอรูปแบบนี้ส่งผลทำให้โครงสร้างของผ้ามีความอ่อนนุ่มยืดหยุดทั้งใช้ในเรื่องของโครงสร้างซิปแล้ว(จะกล่าวต่อไป) ยังรับกับการใช้งานที่อยากจะให้ซิปนั้นดูบางเรียบหายไปกับผ้าอีกด้วย
![ฟันซิป](https://static.wixstatic.com/media/7f3883_52dc729be77c42a7b18c87b49172b53f~mv2.jpg/v1/fill/w_980,h_403,al_c,q_85,usm_0.66_1.00_0.01,enc_auto/7f3883_52dc729be77c42a7b18c87b49172b53f~mv2.jpg)
ตัวหยุดซิป ทั่วไปซิปไนลอนหรือโลหะจะใช้ลักษณะของการงับวัสดุต่างๆลงบนฟันซิปพื้นใช้เป็นตัวเบรกให้หยุด หรือยึดปิดท้าย แต่ในซิปซ่อนจะใช้โพลิเอสเตอร์ชิ้นเล็กๆติดลงไปบนเนื้อผ้า โดยโพลิเอสเตอร์จะยึดติดกับฟันซิป-เนื้อผ้าโดยกระบวนการหลอมละลายโดยคลื่นอัลตราโซนิค ส่วนตัวปิดท้ายจะใช้วิธีเดียวกันหลอมให้ฟันซิปติดกัน เป็นอันเสร็จสมบูรณ์
![ปิดท้าย](https://static.wixstatic.com/media/7f3883_d6eae044c34f48a9ad9d2e704d2d2be5~mv2.jpg/v1/fill/w_752,h_363,al_c,q_80,enc_auto/7f3883_d6eae044c34f48a9ad9d2e704d2d2be5~mv2.jpg)
แล้วซิปซ่อนมีกระบวนการพิเศษกว่าซิปทั่วไปอย่างไร?
ในเรื่องโครงสร้าง เรียกได้ว่าซิปซ่อนคือการนำรูปแบบของซิปที่มีอยู่มาประยุกต์ให้เกิดการใช้งานรูปแบบใหม่ โดยระบบของซิปซ่อนสามารถอธิบายง่ายๆได้คือ 'ซิปซ่อนเกิดจากการพลิกกลับด้านของฟันซิปจากบนลงล่าง จากซ้ายไปขวา'
![ระบบซิป](https://static.wixstatic.com/media/7f3883_7c2f57be1cac421ebabcb4b9b36e8cf5~mv2.jpg/v1/fill/w_980,h_531,al_c,q_85,usm_0.66_1.00_0.01,enc_auto/7f3883_7c2f57be1cac421ebabcb4b9b36e8cf5~mv2.jpg)
กล่าวคือถ้าหากสังเกตตัวฟันซิปของซิปซ่อนจะอยู่ด้านล่างใช่ไหมคะ นั่นแหละค่ะคือการบิดฟันซิปม้วนลงไปด้านใต้ พอรูปซิปเนื้อผ้าด้านบนก็จะยึดติดกันไม่เห็นร่องรอยฟัน และอีกอย่างหนึ่งคือ เมื่อม้วนฟันซิปลงมาแล้ว ในการทอฟันซิปเข้าไปปกติเราจะให้ฟันซิปหันไปด้านนอกผ้า แต่ในซิปซ่อนเราจะกลับฝั่งมาไว้ข้างใน เมื่อมีการม้วนฟันลงไปตัวฟันนี้เองก็จะกลับมาหันประกบกันได้พอดีเหมือนลักษณะของซิปทั่วไป แต่เรียกได้ว่า 'เป็นการกลับหัวกลับหางฟันซิป' นั่นเองค่ะ
![ระบบซิป](https://static.wixstatic.com/media/7f3883_9abb41dc5c7a42edb6c5cf776569c14e~mv2.jpg/v1/fill/w_980,h_224,al_c,q_80,usm_0.66_1.00_0.01,enc_auto/7f3883_9abb41dc5c7a42edb6c5cf776569c14e~mv2.jpg)
ทั้งนี้ ซิปซ่อน เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่เกิดจากการลองผิดลองถูกกันมา ตั้งแต่สมัยก่อน ซิปซ่อนก็มีลักาณะเหมือนซิปไนลอนทั่วไป แค่เป็นการกลับด้าน แต่ผ้าซิปก็ยังไม่ได้ถูกออกแบบมาให้ยืดหยุ่นทนต่อการดีดตัวของฟันเวลาม้วนลง ทำให้ใช้งานได้ไม่ดี ฝืดบ้างเสียบ้าง แต่ในที่สุดเราก็ได้มีซิปซ่อนที่มีประสิทธิภาพใช้กันในปัจจุบัน ต้องขอขอบคุณคนรุ่นก่อนๆ ที่คิดค้นสิ่งประดิษฐ์ ที่ทำให้ชีวิตของเราอยู่ได้อย่างสบาย และสวยงามมากขึ้นเลยนะคะ
สนใจซิป ดูผลิตภัณฑ์ของเราเพิ่มเติมที่นี่ คลิก
หากท่านใดมีความสนใจในซิปหรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ ทางโทริยินดีให้คำปรึกษาตลอด เพียงติดต่อมาหาเราได้ที่นี่ ติดต่อเรา และท่านสามารถติดตามการอัพเดทข่าวสาร และสิ่งที่น่าสนใจได้ใน facebook ของเรา ตามลิ้งค์นี้ได้เลยค่ะ Torithailand facebook
Commentaires