top of page

เรื่องดีๆ ที่เราอยากให้คุณรู้

อัปเดตเมื่อ 14 ม.ค. 2563


ซิปที่เราเห็นกันอยู่ในปัจจุบัน ถึงจะชิ้นเล็กๆ แต่ส่วนประกอบของมันมีหลายส่วนมากมาย ต่อจากเรื่อง รูปแบบต่างๆของซิป แล้ววันนี้โทริจะมาเล่าให้คุณฟังว่า ในซิปนั้นมีส่วนประกอบอะไรบ้าง มาดูกันเลย

ส่วนประกอบตามรูปภาพด้านบน 1. ตัวหยุดซิปบน(top stop) -เป็นโลหะที่นำมางับลงไปในเนื้อผ้าเพื่อใช้ในการหยุดการไหลของหัวซิป หัวซิปจะได้ไม่หลุดจากรางเมื่อรูดสุดปลาย วัสดุที่ใช้จะต่างกันไปในแต่ละรูปแบบของซิปที่ใช้ 2. หัวซิป(slider) -เป็นอุปกรณ์หลักอันดับสองของซิป เพราะเป็นส่วนที่ทำหน้าที่รูดให้ซิปติดกัน หรือแยกกันออก ตัววัสดุที่ใช้ทำหัวซิปมีหลายแบบ เช่น ทองเหลือง พลาสติก อลูมิเนียม สังกะสี เป็นต้น และยังมีด้วยกันหลายระบบ โดยจะกล่าวในหัวข้อถัดไป 3. ป้ายซิป(puller) -เป็นส่วนที่ติดกับหัวซิป โดยมีเพื่อให้เราสามารถจับเพื่อดึงให้หัวซิปขยับตามทิศทางที่ต้องการ โดยส่วนมากในแบรนด์ต่างๆ จะมีการดีไซน์ ออกแบบ ป้ายซิปให้มีเอกลักษณ์ต่างกันไปเพื่อสร้างจุดเด่น 4. ฟันซิป(teeth) -เป็นส่วนประกอบหลักของซิป ฟันซิปเป็นไอเดียหลักในการรูดเปิดเปิด ชื่อฟันซิปมาจากลักษณะที่มีส่วนเป็นเขียวกับหลุมรับกันสองด้าน ฟันซิปก็จะมีวัสดุแตกต่างกันไปในแต่ละรูปแบบซิปเช่นเดียวกัน แต่แรกเริ่มสุดจะทำมาจากโลหะ 5. ผ้าซิป(tape) -ผ้าซิปทำหน้าที่เป็นตัวประสานฟันซิปกับวัสดุอื่น ผ้าซิปเกิดจากการทอด้ายเส้นเล็กๆจนเป็นผืนขึ้นมา โดยผ้าซิปเราสามารถนำไปย้อมสีได้ตามต้องการ 6. ตัวหยุดซิปล่าง(bottom stop) -เป็นโลหะทำหน้าที่คล้ายกับตัวหยุดซิปบน แต่จะเน้นความเรียบและความสวยงามมากกว่า เนื่องจากเห็นได้ชัด อีกทั้งยังมีขนาดใหญ่กว่าเพราะต้องทนแรงรูดที่ปลาย 7. ฟิลม์เสริม(reinforce film) -เป็นส่วนเพิ่มเติมในซิปแบบเปิดท้าย ติดตั้งโดยเครื่องจักรที่ใช้ความร้อนทำปฎิกิริยากับฟิลม์และผ้าซิป หลอมประทับลงไปเพื่อให้ผ้าซิปส่วนท้ายมีความแข็งแรงมากขึ้น ทำให้ทนต่อการฉีกดึง ด้ายจะไม่หลุด และรอยต่อมีความเรียบร้อย 8. พินประกอบ(insert pin) -เป็นส่วนเข็มเล็กๆที่ใช้เสียบเข้ากล่องพิน เพื่อทำหน้าที่ล็อคไม่ให้ปลายหลุด การถอดและใส่เข้า ก็จะทำการดึงที่จุดนี้เพื่อปลดล็อคการเปิดท้าย 9. กล่องพิน(retaining box) -เป็นกล่องที่ใช้คู่กับตัวพินประกอบ ทำหน้าที่เป็นรางหรือเป็นรูกุญแจให้กับพิน ให้เสียบเข้าไปยึดติด

ฟันซิป และ ผ้าซิป ในซิปแต่ละรูปแบบ ลักษณะของฟันซิปและ ผ้าซิปก็จะแตกต่างกันไป ดังนี้ ซิปโลหะ : ฟันทำจากโลหะ ผ้าซิปเป็นผ้ามาตราฐาน ขนาดฟันและความกว้างของผ้า จะเปลี่ยนไปตามเบอร์ของฟัน ซิปไนลอน : ฟันของซิปไนลอนทำมาจากเส้นเอ็นมีความยืดหยุด ผ้าที่ใช้ทอสามารถทำแพทเทิร์นได้ ลายทอบนผ้าจะแตกต่างกันในแต่ละโรงงานผลิต ขนาดฟันและความกว้างของผ้า จะเปลี่ยนไปตามเบอร์ของฟัน ที่ใช้หลักๆมีเบอร์ 3 และ 5 ซิปซ่อน : ฟันเป็นแบบเดียวกับซิปไนลอน แต่จะใช้การผลิตลักาณะพิเศษโดยกลับด้านฟันซิปไปด้านหลังแทน ตัวผ้าซิปจะมีขนาดเล็กและบาง เพื่อให้เหมาะกับรูปแบบการใช้งานที่ต้องการความเรียบเนียน ไม่เป็นที่สังเกตุ ซิปพลาสติก : ฟันเป็นพลาสติกโดยใช้เครื่องหลอมและฉีดขึ้นรูป ส่วนมากจะมีฟันแบบกระดูกใหญ่และเล็ก ผ้าของซิปพลาสติกจะหนากว่าซิปรูปแบบอื่น

ประเภทของหัวซิป หัวซิปจะมีรูปแบบหลายชนิดขึ้นอยู่กับการใช้งาน โดยแต่ละตัวก็จะมีกลไกพิเศษต่างๆ ไว้โทริจะมาเล่าให้ท่านฟังโอกาสต่อไป หัวซิปที่นิยมใช้กับในปัจจุบันสามารถแบ่งเป็น 4 รูปแบบหลักๆได้ ดังนี้ 1.หัว NON-LOCK -หัวซิปพื้นฐาน เป็นหัวที่สามารถรูดได้อิสระ ใช้ในอุปกรณ์ทั่วไป กระเป๋า เสื้อผ้า ที่ไม่สนใจการเคลื่อนที่ของซิปเนื่องจากไม่มีส่วนที่กระทบในการรูด หัวชนิดนี้หากมีการดึงให้ซิปแยกออกจากกัน ก็จะไหลได้อย่างอิสระ รูปลื่นง่าย แต่ก็ไหลง่ายเช่นกัน 2.หัว PIN-LOCK -หัวซิปที่มีเขี้ยวสำหรับยึดไม่ให้ซิปไหลหรือรูดซิปได้ จะมีกลไกที่เป็นเขี้ยวติดไว้ใต้ป้ายซิปโดยจะล็อคต่อเมื่อเราผลักป้ายซิปลงไปด้านล่าง ฟันก็จะไปงับผ้า หยุดการคลื่นที่ของหัวไว้ได้ การหยุดซิปไม่ให้ซิปไหลส่วนมากจะพบในอุปกรณ์ที่มีแรงตึงมาก เช่นกางเกง 3.หัวSPRING LOCK -เป็นหัวซิปที่มีการทำงานใกล้เคียงกับ PIN-LOCK แต่กลไกด้านในจะมีระบบสปริงขนาดเล็กในหัวซิปใช้ในการล็อคโดยเฉพาะการใช้งานเหมือนหัว PIN-LOCK คือต้องพับป้ายลงถึงจะเกิดการล็อคขึ้น เนื่องจากเป็นระบบที่ละเอียดอ่อนกว่า ราคาจึงสูงกว่าแบบPIN-LOCK และมีแค่ในหัวซิปโลหะเท่านั้น นิยมใช้กันในซิปกางเกงยีนส์ที่มีความพรีเมียม ข้อดีของหัวซิปนี้อีกอย่างคือ หัวซิปจะมีความแบนมากกว่าหัวแบบ PIN-LOCK 4.หัวAUTO-LOCK -หัวซิปที่มีกลไกพิเศษ ดูเผินๆอาจคล้ายกับหัวNON-LOCK แต่ในระบบ AUTO-LOCK จะมีกลไกสปริงด้านในที่ใช้ในการปลดล็อค ชื่อที่มาของAUTO-LOCKนี้ได้มาจาก การที่หัวซิปนี้จะล็อคไม่ให้ขยับตลอดเวลา จะขยับได้ก็ต่อเมื่อเราดึงป้ายซิปเท่านั้น การดึงจะไปทำให้กลไกสปริงปลดตัวล็อคออกและทำให้รูดได้ปกติ จะเห็นได้ว่าซิป 1 ชิ้นมีองค์ประกอบมากมายเลยทีเดียว และแต่ละส่วนก็มาจากเครื่องจักรไม่เหมือนกัน ท่านสามารถกลับไปรับชม ขั้นตอนการผลิตซิป ประกอบได้ หากท่านมีข้อสงสัยประการใดโทริ ยินดีให้คำปรึกษาท่านตลอด หากท่านใดมีความสนใจในซิปหรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ ทางโทริยินดีให้คำปรึกษาตลอด เพียงติดต่อมาหาเราได้ที่นี่ ติดต่อเรา และท่านสามารถติดตามการอัพเดทข่าวสาร และสิ่งที่น่าสนใจได้ใน facebook ของเรา ตามลิ้งค์นี้ได้เลยค่ะ Torithailand facebook #ส่วนประกอบซิป #ซิป #ชนิดของซิป #ข้อมูลซิป #โทริ #โทริไทยแลนด์ #torithailand #ขายซิป



ซิปได้ถูกคิดค้นขึ้นมาตั้งแต่ปีค.ศ.1913 ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน ได้มีซิปหลากหลายประเภทเกิดขึ้นมา ซึ่งซิปแต่ละชนิดก็จะมีการใช้งานที่แตกต่างกันไปบ้าง จากการมีคุณสมบัติของวัสดุที่ใช้ทำแตงต่างกัน ซึ่งโดยส่วนมากจะมาจากวัสดุที่ใช้เป็นฟันซิป วันนี้ โทริ จึงอยากนำเสนอประเภทของซิปให้ทุกท่านได้ศึกษากัน

1. ซิปไนลอน ซิปไนลอน เป็นซิปที่เราสามารถพบเห็นได้บ่อยที่สุด เพราะเป็นซิปมาตราฐานชนิดแรกที่คนนิยมใช้ เนื่องด้วยราคาไม่แพง และมีความยืดหยุ่นสูง มักพบได้ในงานการ์เมนท์ทั่วไป งานกระเป๋า วัสดุหลักของซิปประเภทนี้คือ ตัวผ้ากับเส้นเอ็น ดังนั้นจึงมีข้อเสียคือ ไม่ทนความร้อนและเกิดการยับงอได้ค่อนข้างง่าย แต่สามารถรีดด้วยความร้อนไม่สูงมากได้ หมายเหตุ : ปัจจุบันในไทยส่วนมากซิปไนลอนจะใช้โพลีเอสเตอร์ทำหมดแล้ว แต่ยังคงติดชื่อเรียกทางการค้าว่าซิปไนลอนอยู่

ข้อดี

  1. ราคาไม่สูง

  2. มีความยืดหยุ่นสูง สามารถนำไปใช้ได้หลายรูปแบบ

  3. ทำความสะอาดง่าย

  4. ติดตั้งง่าย

ข้อเสีย

  1. มีความคงทนต่ำ

  2. ไม่ทนต่อความร้อน

  3. ยับงอง่าย (แต่รีดได้)



2. ซิปโลหะ ซิปโลหะ จะมีฟันซิปที่ทำจากวัสดุโลหะตามชื่อ ซึ่งส่วนมากที่นิยมใช้ในซิปโลหะคือ ทองเหลือง ทำให้ราคาของซิปโลหะจะสูงกว่าซิปชนิดอื่น แต่นอกเหนือจากความหรูหราของวัสดุ เรายังได้ความแข็งแรงของซิปที่เพิ่มขึ้นมาด้วย วัสดุนอกจากทองเหลือง เรายังสามารถใช้เป็น อลูมิเนียม เหล็ก และทำสีผิวต่างกันไปในแต่ละเทคนิกการผลิต ด้วยความคงทนของมัน เราจึงมักนิยมใช้ซิปโลหะนี้ตามกางเกงยีนส์ กระเป๋าแบรนด์ต่างๆ เป็นต้น ข้อดี

  1. คงทน

  2. ดูหรูหรา มีคุณค่า

ข้อเสีย

  1. ราคาค่อนข้างสูง

  2. มีความกระด้างมากกว่าซิปชนิดอื่น

  3. สีของโลหะสามารถหม่นลงได้ตามอายุการใช้งาน ต้องมีการทำความสะอาดดูแลรักษา

  4. นำไฟฟ้า และ ความร้อน-เย็น


3. ซิปพลาสติก ซิปพลาสติก ทำจากการฉีดพลาสติกขึ้นรูปเป็นฟันซิป เราเรียกซิปพลาสติกอีกอย่างว่า ฟันกระดูก เนื่องจากรูปลักษณ์โครงสร้างที่ดูแล้วคล้ายกับกระดูสันหลัง ด้วยการที่เป็นพลาสติกเราจึงสามารถผสมทำสีอะไรก็ได้ และข้อดีอย่างหนึ่งคือ ซิปพลาสติกจะมีฟันใหญ่ ไม่คม ทำให้เป็นมิตรกับเด็ก และด้วยความที่ไม่นำความร้อนหรือเย็น จึงนิยมใช้แทนซิปโลหะในประเทศแถบที่มีอากาศหนาวเย็น เวลาสัมผัสจึงไม่รู้สึกหนาวมือ อีกทั้งยังคงทนต่อน้ำ สามารถกันน้ำได้มากกว่าซิปประเภทอื่นๆ ข้อดี

  1. ฟันซิปไม่คม เป็นมิตรกับเด็ก

  2. ดูเป็นงานปราณีตกว่าซิปไนลอน

  3. ไม่นำความร้อน-เย็น

  4. มีคุณสมบัติทนต่อน้ำมากกว่าซิปชนิดอื่น

ข้อเสีย

  1. ฟันมีขนาดใหญ่ ไม่สามารถใช้ในบางงานที่ต้องการขนาดเล็กได้

  2. มีความยืดหยุ่นน้อยกว่าชนิดอื่นๆ เพราะฟันมีขนาดใหญ่และแข็ง


4.ซิปซ่อน ซิปซ่อนเกิดมาด้วยจุดประสงค์ที่อยากจะลดความเด่นของซิปออกไปจากเสื้อผ้า เพราะซิปทั่วไปจะเห็นฟันซิปชัดเจนเวลาติดตั้ง แต่ซิปซ่อนจะมีเป็นกลไกซิปพิเศษที่จะกลับด้านฟันซิปไปไว้ด้านในแทน ทำให้เราสามารถซ่อนฟันและรอยต่อได้อย่างแนบเนียน ส่วนมากที่เห็นได้ชัดที่สุดคือ ซิปที่กระโปรง หรือตามชุดเดรส ที่เน้นความสวยงามและปราณีต ข้อดี

  1. ไม่โชว์ฟันซิปเวลาติดตั้ง ทำให้ดูเรียบเนียน

  2. ซิปมีขนาดเล็ก สามารถใช้กับงานดีเทลเล็กๆ ได้สะดวก

ข้อเสีย

  1. ความคงทนต่อการดึงต่ำ

  2. ติดตั้งยากกว่าซิปแบบอื่นๆ มีวิธีการเย็บพิเศษ


"ซิปแต่ละเภท หากนำไปใช้กับอุปกรณ์ที่เหมาะสมจะช่วยเสริมสร้างประสิทธิภาพ และเอกลักษณ์ให้กับผลิตภัณฑ์ ได้อย่างดี"

 

หากท่านใดมีความสนใจในซิปหรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ ทางโทริยินดีให้คำปรึกษาตลอด เพียงติดต่อมาหาเราได้ที่นี่ ติดต่อเรา และท่านสามารถติดตามการอัพเดทข่าวสาร และสิ่งที่น่าสนใจได้ใน facebook ของเรา ตามลิ้งค์นี้ได้เลยค่ะ Torithailand facebook

#ประเภทซิป #แบบซิป #รุ่นซิป #ชนิดของซิป #ข้อมูลซิป #ซิปไนลอน #ซิปโลหะ #ซิปพลาสติก #ซิปกระดูก #ซิปซ่อน #ซิป #โทริ #โทริไทยแลนด์ #torithailand

bottom of page