top of page

เรื่องดีๆ ที่เราอยากให้คุณรู้

  • รูปภาพนักเขียน: TORI
    TORI
  • 7 พ.ค. 2562
  • ยาว 1 นาที

อัปเดตเมื่อ 4 ก.ค. 2562


ซิปแตก

เมื่อมีเกิดย่อมมีดับ ซิปก็เช่นกันค่ะ ซิปทุกชนิดนั้นย่อมมีอายุการใช้งานในตัวของมัน และปัญหาที่เราพบกันบ่อยมากที่สุดคือ การที่ซิปรูดแล้วฟันก็ไม่ปิดหรือที่เราเรียกกันว่า 'ซิปแตก' นั่นเองค่ะ วันนี้โทริจะมานำเสนอว่าทำไมซิปจึงแตกได้ ซิปแตกมีที่มาอย่างไร และเราจะแก้ไขได้อย่างไร

ซิปแตก

รู้จักกับอาการซิปแตก : อาการซิปแตก เกิดจากการที่ส่วนประกอบของหัวซิปเกิดปัญหาขึ้น ส่วนที่ว่าก็คือ ช่องใส่ผ้าซิป และราง (อ่านรายละเอียดเกี่ยวกับส่วนประกอบได้ที่นี่) ปัญหาที่ว่านี้คือการเปลี่ยนแปลงทางด้านขนาด ทำให้ความสามารถในการรวบประกบฟันซิปของหัวซิปถดถอยลง ซึ่งโดยส่วนมากเกิดจากการใช้งาน รูด-ดึง ซิป บ่อยๆหรือแรงๆ เมื่อนานๆเข้าแรงที่กระทำต่อหัวซิปผ่านป้ายซิป จะส่งผลทำให้ตัวช่องไหล่ของหัวซิปขยายออก นี่จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้ความสามารถในการประกบฟันซิปสูญเสียไปนั่นเอง

การทำงานหัวซิป
ภาพประกอบแรงที่เกิดขึ้นในหัวซิป

เราสามารถแก้ไขเบื้องต้นได้อย่างไรบ้าง? โทริขอนำภาพบางส่วนจาก วิดีโอคลิปทาง Youtube ช่องScience Sir มาประกอบให้ทุกท่านได้ศึกษากันค่ะ ขั้นแรกจะขอเปรียบเทียบซิปที่มีปัญหาก่อนนะคะ สังเกตุได้ชัดว่า หัวซิปที่ปัญหาจะมีช่องว่างของรางที่มากกว่ารางปกติ

ซิปแตก
ภาพจากทางYoutube ช่อง Science Sir

รางเผยอขึ้นออก อย่างชัดเจน ซึ่งเป็นสาเหตุหลักว่าทำไมซิปประกบกันไม่ได้

ซิปแตก
ภาพจากทางYoutube ช่อง Science Sir

วิธีแก้ง่ายๆคือ ทำให้รางกลับเข้าไปที่เดิม ด้วยความที่หัวซิปส่วนมากทำมาจากโลหะ จึงมีความยืดหยุ่น เราจึงสามารถนำคีมมาบีบให้รางมันกลับเข้าไปได้ทันที **ข้อควรระวัง: ควรออกแรงแต่เบาๆ มิเช่นนั้นหัวซิปอาจจะเบี้ยวและเสียเลยได้**

ซิปแตก
ภาพจากทางYoutube ช่อง Science Sir

ใช้คีมบีบเบาๆที่ปลาย ส่วนที่เผยอ ค่อยๆบีบทีละนิด บีบจนรางกลับมาขนานดังเดิม

ซ่อมซิปแตก
ภาพจากทางYoutube ช่อง Science Sir

เท่านี้ก็เป็นอันเสร็จสมบูรณ์ ดูภาพเปรียบเทียบด้านล่างประกอบค่ะ

ซ่อมซิปแตก
ภาพจากทางYoutube ช่อง Science Sir

แต่เวลาซ่อมจริงจะลำบากกว่าในตัวอย่างที่นำมาให้ชมนะคะ เพราะว่าจะต้องใช้คีมคีบผ่านวัสดุต่างๆ และเราจะตรวจสอบได้ยากกว่า ฉะนั้นออกแรงแต่เบาๆไว้ก่อนค่ะ

ซ่อมซิปแตก
ภาพจากทางYoutube ช่อง Science Sir

ภาพเปรียบเทียบก่อนซ่อม - หลังซ่อม

ซ่อมซิปแตก
ภาพจากทางYoutube ช่อง Science Sir

เท่านี้ก็สามารถซ่อมกลับมาใช้งานได้ปกติค่ะ แต่ทางที่ดีเราควรดูแลรักษาซิปอย่างถูกวิธีนะคะ ก่อนจบเรื่องเล่านี้ โทริขอฝากวิธีใช้งานและดูแลรักษาซิปให้ทุกท่านค่ะ การใช้งานให้ซิปอยู่กับเราได้นานๆ -เวลารูดซิปหากไม่จำเป็น อย่ารูดเร็วๆ แรงๆ เพราะถ้าเกิดซิปติด หรือกินผ้า จะทำให้ซิปเสียหายได้ง่ายขึ้น -ทุกครั้งก่อนที่จะรูดซิปปิดเปิด ให้จับริมฟันสองข้างให้แนบกันก่อนค่อยรูด เพื่อให้หัวซิปสามารถประกบฟันได้ถูกต้อง -ก่อนที่จะนำซิปไปซัก ไม่ว่าจะเป็นเสื้อ กางเกง กระเป๋า หากเป็นไปได้ ควรรูดซิปปิดก่อน ป้องกันการกระทบ รางซิปจะได้ไม่ช้ำ และไม่หักกลาง -ถนอมซิปโดยอาจจะใช้สบู่ หรือเทียนไข ถูฟันซิปทั้งสองด้านทำให้ซิปรูดได้ลื่นขึ้น

 

หากท่านใดมีความสนใจในซิปหรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ ทางโทริยินดีให้คำปรึกษาตลอด เพียงติดต่อมาหาเราได้ที่นี่ ติดต่อเรา และท่านสามารถติดตามการอัพเดทข่าวสาร และสิ่งที่น่าสนใจได้ใน facebook ของเรา ตามลิ้งค์นี้ได้เลยค่ะ Torithailand facebook #ซิปแตก #ซิป #ข้อมูลซิป #โทร#โทริไทยแลนด์ #torithailand #ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายซิป

  • รูปภาพนักเขียน: TORI
    TORI
  • 23 เม.ย. 2562
  • ยาว 1 นาที

อัปเดตเมื่อ 14 ม.ค. 2563


zipper work, การทำงานของซิป

จากเรื่องเล่าครั้งที่แล้วที่โทริได้เล่าเกี่ยวกับ ส่วนประกอบของซิป วันนี้โทริอยากจะมานำเสนอสิ่งที่ลึกลงไปอีกค่่ะ นั่นก็คือการทำงานของซิป ในซิปจะมีส่วนที่สำคัญหลักที่เป็นตัวการในการที่งานของระบบซิปอยู่สองอย่าง นั่นก็คือฟันซิป และหัวซิปนั่นเองค่ะ

zipper, ซิป,หัวซิป

ฟันซิป ไม่ว่าจะเป็นซิปประเภทใดก็ตาม หลักการการทำงานของฟันซิปคือการล็อคประกบ หรือการเกี่ยวยึดกันเองของฟัน ถ้าเป็นฟันซิปโลหะก็จะผลิตจากแผ่นลวดโลหะนำมาตัดเป็นรูปฟันและ ประกบกับตัวผ้าซิป หากเป็นซิปไนลอนจะเป็นการใช้ความร้อนและการเย็บระหว่างเส้นเอ็นกับผ้า ส่วนซิปพลาสติกจะใช้การหลอมบล็อคลงในเนื้อผ้าซิปเลย แต่ไม่ว่าเป็นฟันประเภทใดหลักคิดคือการทำให้เกิดรูปทรงของการเกี่ยวกันขึ้นมาอย่างแน่นเหนียว

zipper teeth, ฟันซิป
ภาพ diagram การเกี่ยวกันของฟันซิป

หัวซิป ส่วนสำคัญที่จะทำให้ฟันซิปประกบกันได้ก็คือหัวซิป หลักการทำงานของหัวซิปสามารถอธิบายได้ง่ายๆ ก็คือ หัวซิปเป็นรางที่นำฟันซิปทั้งสองข้างมารวมประกบกัน โดยหากอธิบายให้ละเอียดหัวซิปจะประกอบไปด้วยส่วนต่างๆดังนี้ 1,ป้ายซิป(puller) : เป็นส่วนสำคัญที่ใช้ในการดึงจับลากหัวซิปให้ขยับ ส่วนนี้สามารถออกแบบได้อย่างอิสระ แต่ต้องทำให้สามารถจับดึงได้ง่าย 2.สันยอด(crown) : เป็นห่วงที่ใช้ยึดป้ายเข้ากับหัวซิป 3.แกน(diamond) : เป็นส่วนโครงสร้างความแข็งแรงหลักภายในซิป มีลักษณะเป็นเหลี่ยมช่วยส่งให้ฟันซิปประกบกัน 4.ไหล่(shoulder) : ส่วนหน้าสุดของรางที่ภายออกมา 5.ช่องใส่ผ้า(tape gap) : รางที่ใช้สอดผ้าและฟันซิปเข้าไป 6.ราง(rail) : รางมีสองส่วนคือรางบนและรางล่าง ซิปที่เกิดปัญหาไหล ส่วนมากเกิดมาจากระยะของรางถูกดึงจนรางทั้งคู่บนล่างห่างออกจากกัน จากการใช้งานดึงหัวซิปบ่อยๆและรุนแรง 7.ปาก(mouth) : ส่วนแรกที่ตัวซิปจะลอดผ่านเข้าไป

ลักษณะของรูปแบบป้ายซิป เราสามารถพบเห็นได้ทั่วไป สองลักษณะ คือ - หัวซิปแบบป้ายสอด : เป็นโครงสร้างแบบพื้นฐานป้ายซิปคล้องโดยตรงกับสันยอดของซิปเลย - หัวซิปแบบป้ายคล้อง : เป็นโครงสร้างที่ถูกพัฒนาภายหลัง โดยจะมี'ห่วงคล้อง'เพิ่มขึ้นมา เพื่อเป็นตัวประสานกับป้ายซิปอีกที ข้อดีของรูปแบบนี้คือ ป้ายซิปสามารถถูกออกแบบได้อย่างอิสระมากกว่า สามารถกำหนดขนาดและ รูปแบบได้หลากหลายกว่า จะพบได้มากในป้ายแฟชั่นต่างๆ


แบบป้ายซิป

เกร็ดเสริม : ทุกท่านเคยสังเกตไหมคะว่า ด้านหลังหัวซิป ส่วนมากเราจะพบตัวเลขและ/หรือตัวอักษร ปรากฎอยู่บนนั้น ตัวเลขนั้นคืออะไร ทราบไหมคะ?

ตัวเลขกับตัวอักษรเหล่านั้น มีความสำคัญอยู่ไม่น้อยเลยนะคะ โทริขอเฉลยค่ะ ตัวเลขด้านบน : บอกขนาดเบอร์ซิป เช่น จากในรูปด้านล่างคือหัวซิปที่ใช้กับซิปเบอร์5 ตัวอักษรด้านล่าง : ใช้จำแนกแถวในแบบหล่อของหัวซิป (จะกล่าวถัดไป)

การหล่อหัวซิป ในการหล่อหัวซิปจะใช้แม่พิมพ์ที่สามารถพิมพ์หล่อหัวซิปออกมาทีละหลายชุด ดังนั้นหากเกิดปัญหาขึ้นในหัวซิปหนึ่งในแบบพิมพ์ที่หล่อขึ้นมา เราจะไม่สามารถทราบได้เลยว่าหัวซิปจุดไหนในแม่พิมพ์ที่เป็นปัญหา ดังนั้นการพิมพ์อักษรกำกับเอาไว้จึงช่วยในการแยกแยะ และลดความผิดพลาดที่เกิดขึ้นในการผลิต (จากในรูปด้านล่าง เราจะนำไปกลึงให้หัวซิปในแบบหลุดออกมา ทำความสะอาดและนำไปใช้ ส่วนแกนแม่พิมพ์ที่เห็นเป็นแท่งจะนำกลับไปหลอมเป็นวัสดุผลิตใหม่ ไม่สิ้นเปลือง)

แม่พิมพ์ซิป
ชุดหัวซิป ที่เพิ่งออกจากแม่พิมพ์ (ยังไม่ผ่านการกลึงให้สวยงาม)

รายละเอียดต่างๆของซิปนั้น ยังมีรายละเอียดมากมายให้ทุกท่านได้ศึกษา ไม่ว่าจะเป็นกลไกต่างๆ หรือวิธีการ หัวข้อต่างๆเกี่ยวกับซิปและอุปกรณ์การเมนท์ โทริยินดีและพร้อมให้ความรู้และเรื่องเล่าดีๆแก่ท่านเสมอ โทริขอปิดท้ายด้วยคลิปวิดีโอแสดงภาพการรูดซิปและการทำงานของฟันซิปให้ท่านได้ชมค่ะ

หากท่านใดมีความสนใจในซิปหรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ ทางโทริยินดีให้คำปรึกษาตลอด เพียงติดต่อมาหาเราได้ที่นี่ ติดต่อเรา และท่านสามารถติดตามการอัพเดทข่าวสาร และสิ่งที่น่าสนใจได้ใน facebook ของเรา ตามลิ้งค์นี้ได้เลยค่ะ Torithailand facebook #การทำงานของซิป #ซิป #ข้อมูลซิป #โทร#โทริไทยแลนด์ #torithailand #ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายซิป

อัปเดตเมื่อ 14 ม.ค. 2563


ซิปที่เราเห็นกันอยู่ในปัจจุบัน ถึงจะชิ้นเล็กๆ แต่ส่วนประกอบของมันมีหลายส่วนมากมาย ต่อจากเรื่อง รูปแบบต่างๆของซิป แล้ววันนี้โทริจะมาเล่าให้คุณฟังว่า ในซิปนั้นมีส่วนประกอบอะไรบ้าง มาดูกันเลย

ส่วนประกอบตามรูปภาพด้านบน 1. ตัวหยุดซิปบน(top stop) -เป็นโลหะที่นำมางับลงไปในเนื้อผ้าเพื่อใช้ในการหยุดการไหลของหัวซิป หัวซิปจะได้ไม่หลุดจากรางเมื่อรูดสุดปลาย วัสดุที่ใช้จะต่างกันไปในแต่ละรูปแบบของซิปที่ใช้ 2. หัวซิป(slider) -เป็นอุปกรณ์หลักอันดับสองของซิป เพราะเป็นส่วนที่ทำหน้าที่รูดให้ซิปติดกัน หรือแยกกันออก ตัววัสดุที่ใช้ทำหัวซิปมีหลายแบบ เช่น ทองเหลือง พลาสติก อลูมิเนียม สังกะสี เป็นต้น และยังมีด้วยกันหลายระบบ โดยจะกล่าวในหัวข้อถัดไป 3. ป้ายซิป(puller) -เป็นส่วนที่ติดกับหัวซิป โดยมีเพื่อให้เราสามารถจับเพื่อดึงให้หัวซิปขยับตามทิศทางที่ต้องการ โดยส่วนมากในแบรนด์ต่างๆ จะมีการดีไซน์ ออกแบบ ป้ายซิปให้มีเอกลักษณ์ต่างกันไปเพื่อสร้างจุดเด่น 4. ฟันซิป(teeth) -เป็นส่วนประกอบหลักของซิป ฟันซิปเป็นไอเดียหลักในการรูดเปิดเปิด ชื่อฟันซิปมาจากลักษณะที่มีส่วนเป็นเขียวกับหลุมรับกันสองด้าน ฟันซิปก็จะมีวัสดุแตกต่างกันไปในแต่ละรูปแบบซิปเช่นเดียวกัน แต่แรกเริ่มสุดจะทำมาจากโลหะ 5. ผ้าซิป(tape) -ผ้าซิปทำหน้าที่เป็นตัวประสานฟันซิปกับวัสดุอื่น ผ้าซิปเกิดจากการทอด้ายเส้นเล็กๆจนเป็นผืนขึ้นมา โดยผ้าซิปเราสามารถนำไปย้อมสีได้ตามต้องการ 6. ตัวหยุดซิปล่าง(bottom stop) -เป็นโลหะทำหน้าที่คล้ายกับตัวหยุดซิปบน แต่จะเน้นความเรียบและความสวยงามมากกว่า เนื่องจากเห็นได้ชัด อีกทั้งยังมีขนาดใหญ่กว่าเพราะต้องทนแรงรูดที่ปลาย 7. ฟิลม์เสริม(reinforce film) -เป็นส่วนเพิ่มเติมในซิปแบบเปิดท้าย ติดตั้งโดยเครื่องจักรที่ใช้ความร้อนทำปฎิกิริยากับฟิลม์และผ้าซิป หลอมประทับลงไปเพื่อให้ผ้าซิปส่วนท้ายมีความแข็งแรงมากขึ้น ทำให้ทนต่อการฉีกดึง ด้ายจะไม่หลุด และรอยต่อมีความเรียบร้อย 8. พินประกอบ(insert pin) -เป็นส่วนเข็มเล็กๆที่ใช้เสียบเข้ากล่องพิน เพื่อทำหน้าที่ล็อคไม่ให้ปลายหลุด การถอดและใส่เข้า ก็จะทำการดึงที่จุดนี้เพื่อปลดล็อคการเปิดท้าย 9. กล่องพิน(retaining box) -เป็นกล่องที่ใช้คู่กับตัวพินประกอบ ทำหน้าที่เป็นรางหรือเป็นรูกุญแจให้กับพิน ให้เสียบเข้าไปยึดติด

ฟันซิป และ ผ้าซิป ในซิปแต่ละรูปแบบ ลักษณะของฟันซิปและ ผ้าซิปก็จะแตกต่างกันไป ดังนี้ ซิปโลหะ : ฟันทำจากโลหะ ผ้าซิปเป็นผ้ามาตราฐาน ขนาดฟันและความกว้างของผ้า จะเปลี่ยนไปตามเบอร์ของฟัน ซิปไนลอน : ฟันของซิปไนลอนทำมาจากเส้นเอ็นมีความยืดหยุด ผ้าที่ใช้ทอสามารถทำแพทเทิร์นได้ ลายทอบนผ้าจะแตกต่างกันในแต่ละโรงงานผลิต ขนาดฟันและความกว้างของผ้า จะเปลี่ยนไปตามเบอร์ของฟัน ที่ใช้หลักๆมีเบอร์ 3 และ 5 ซิปซ่อน : ฟันเป็นแบบเดียวกับซิปไนลอน แต่จะใช้การผลิตลักาณะพิเศษโดยกลับด้านฟันซิปไปด้านหลังแทน ตัวผ้าซิปจะมีขนาดเล็กและบาง เพื่อให้เหมาะกับรูปแบบการใช้งานที่ต้องการความเรียบเนียน ไม่เป็นที่สังเกตุ ซิปพลาสติก : ฟันเป็นพลาสติกโดยใช้เครื่องหลอมและฉีดขึ้นรูป ส่วนมากจะมีฟันแบบกระดูกใหญ่และเล็ก ผ้าของซิปพลาสติกจะหนากว่าซิปรูปแบบอื่น

ประเภทของหัวซิป หัวซิปจะมีรูปแบบหลายชนิดขึ้นอยู่กับการใช้งาน โดยแต่ละตัวก็จะมีกลไกพิเศษต่างๆ ไว้โทริจะมาเล่าให้ท่านฟังโอกาสต่อไป หัวซิปที่นิยมใช้กับในปัจจุบันสามารถแบ่งเป็น 4 รูปแบบหลักๆได้ ดังนี้ 1.หัว NON-LOCK -หัวซิปพื้นฐาน เป็นหัวที่สามารถรูดได้อิสระ ใช้ในอุปกรณ์ทั่วไป กระเป๋า เสื้อผ้า ที่ไม่สนใจการเคลื่อนที่ของซิปเนื่องจากไม่มีส่วนที่กระทบในการรูด หัวชนิดนี้หากมีการดึงให้ซิปแยกออกจากกัน ก็จะไหลได้อย่างอิสระ รูปลื่นง่าย แต่ก็ไหลง่ายเช่นกัน 2.หัว PIN-LOCK -หัวซิปที่มีเขี้ยวสำหรับยึดไม่ให้ซิปไหลหรือรูดซิปได้ จะมีกลไกที่เป็นเขี้ยวติดไว้ใต้ป้ายซิปโดยจะล็อคต่อเมื่อเราผลักป้ายซิปลงไปด้านล่าง ฟันก็จะไปงับผ้า หยุดการคลื่นที่ของหัวไว้ได้ การหยุดซิปไม่ให้ซิปไหลส่วนมากจะพบในอุปกรณ์ที่มีแรงตึงมาก เช่นกางเกง 3.หัวSPRING LOCK -เป็นหัวซิปที่มีการทำงานใกล้เคียงกับ PIN-LOCK แต่กลไกด้านในจะมีระบบสปริงขนาดเล็กในหัวซิปใช้ในการล็อคโดยเฉพาะการใช้งานเหมือนหัว PIN-LOCK คือต้องพับป้ายลงถึงจะเกิดการล็อคขึ้น เนื่องจากเป็นระบบที่ละเอียดอ่อนกว่า ราคาจึงสูงกว่าแบบPIN-LOCK และมีแค่ในหัวซิปโลหะเท่านั้น นิยมใช้กันในซิปกางเกงยีนส์ที่มีความพรีเมียม ข้อดีของหัวซิปนี้อีกอย่างคือ หัวซิปจะมีความแบนมากกว่าหัวแบบ PIN-LOCK 4.หัวAUTO-LOCK -หัวซิปที่มีกลไกพิเศษ ดูเผินๆอาจคล้ายกับหัวNON-LOCK แต่ในระบบ AUTO-LOCK จะมีกลไกสปริงด้านในที่ใช้ในการปลดล็อค ชื่อที่มาของAUTO-LOCKนี้ได้มาจาก การที่หัวซิปนี้จะล็อคไม่ให้ขยับตลอดเวลา จะขยับได้ก็ต่อเมื่อเราดึงป้ายซิปเท่านั้น การดึงจะไปทำให้กลไกสปริงปลดตัวล็อคออกและทำให้รูดได้ปกติ จะเห็นได้ว่าซิป 1 ชิ้นมีองค์ประกอบมากมายเลยทีเดียว และแต่ละส่วนก็มาจากเครื่องจักรไม่เหมือนกัน ท่านสามารถกลับไปรับชม ขั้นตอนการผลิตซิป ประกอบได้ หากท่านมีข้อสงสัยประการใดโทริ ยินดีให้คำปรึกษาท่านตลอด หากท่านใดมีความสนใจในซิปหรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ ทางโทริยินดีให้คำปรึกษาตลอด เพียงติดต่อมาหาเราได้ที่นี่ ติดต่อเรา และท่านสามารถติดตามการอัพเดทข่าวสาร และสิ่งที่น่าสนใจได้ใน facebook ของเรา ตามลิ้งค์นี้ได้เลยค่ะ Torithailand facebook #ส่วนประกอบซิป #ซิป #ชนิดของซิป #ข้อมูลซิป #โทริ #โทริไทยแลนด์ #torithailand #ขายซิป

bottom of page